14 สิงหาคม 2552

สิ่งที่เราควรรู้






เราต้องช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรทางน้ำกันนะค่ะ

08 สิงหาคม 2552

บทความวิชาการ

ประกาศ

ช่วงฤดูที่สัตว์น้ำในฝั่งทะเลอ่าวไทยกำลังมีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัววัยอ่อนเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก กรมประมงจึงได้จัดให้มีการปิดทะเลฝั่งอ่าวไทย เป็นเวลา 3 เดือน ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์-15 พฤษภาคม ของทุกปี โดยห้ามชาวประมงใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิด ทำการประมงในฤดูปลามีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัววัยอ่อนในที่จับสัตว์น้ำบางส่วน


คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ


คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

โรคที่สำคัญของปลาเลี้ยงในตู้ที่พบได้บ่อยๆ

โรคที่สำคัญของปลาเลี้ยงในตู้ที่พบได้บ่อยๆ คือ โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและปรสิตแต่ก็อาจเกิดจากเชื้อรา และเชื้อไวรัสได้เช่นกัน
• ปลาที่ป่วยด้วยเชื้อแบคทีเรีย จะมีอาการที่เห็นได้คือ เกิดรอยเป็นทางยาวสีแดงที่ปลายครีบ หรือที่ลำตัวหรือเกิดเป็นจุดสีแดงที่ลำตัว และมีการบวมที่ส่วนท้องและลูกตา การรักษาที่ดีที่สุด คือการ ใช้ยา ปฏิชีวนะ เช่น penicillin , amoxicillin
• สำหรับปลาที่ป่วยจากสาเหตุมาจากปรสิตที่พบบ่อย คือ โรคที่เรียกย่อๆ ว่า “ich- อิ๊ก ” โดยจะเกิดเป็นจุดสีขาวที่ครีบและลำตัวและปรสิตอาจจะเข้าไปอยู่ที่เหงือกซึ่งจะทำให้ปลาหายใจลำบาก และปลาที่เป็นโรคนี้ก็มีครีบที่บิดงอ ไม่กินอาหาร
• ในการรักษาปลาที่ป่วยจำเป็นต้องมีการตรวจวินิจฉัยให้ทราบสาเหตุที่แท้จริงก่อนจึงจะทำให้การรักษาได้ผล ดังนั้นถ้ามีปลาป่วย/ตาย ควรส่งตัวอย่างปลาที่ป่วย/ตาย เพื่อการวินิจฉัยโรคก่อน จึงจะสามารถแนะนำในการรักษาได้

หลักการสำคัญในการซื้อปลามาเลี้ยงในตู้ที่จะป้องกันการเกิดโรค
• ซื้อปลาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ (ทราบคุณภาพของปลา) และเป็นปลาที่สามารถเลี้ยงร่วมกันได้
• จะต้องนำปลาที่ซื้อมาใหม่แยกเลี้ยงไว้ก่อนระยะหนึ่งเพื่อสังเกตอาการ ก่อนนำไปเลี้ยงในตู้ภายหลัง
• หลีกเลี้ยงการทำให้ปลาเกิดความเครียด เช่นการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมที่ใช้เลี้ยงอย่างกระทันหัน
• ไม่ให้อาหารมากเกินไป
• แยกปลาที่แสดงอาการป่วยไปเลี้ยงต่างหากเพื่อทำการรักษา
• ต้องทำการฆ่าเชื้อตะแกรงที่ใช้ช้อนปลาป่วยก่อนนำไปใช้ต่อไป
• น้ำที่ใช้เลี้ยงปลาซื้อใหม่ไม่ควรนำไปเติมในตู้ปลาที่จะใช้เลี้ยงปกติ
• คุณภาพของน้ำที่ใช้เลี้ยงจะต้องสะอาด และมีระบบรองที่ดี